Dr. Jasser Auda
×
Languages

Category: ภาษาไทย

ความหมายของตัญจดีดและบทบาทของตัญจดีดในโลกปัจจุบัน

ระหว่างการเปลี่ยนแปลงและการฟื้นฟู         ประการแรก มีความแตกต่างกันระหว่างการเปลี่ยน (ตัฆยีร) และการฟื้นฟู(ตัญจ์ดีด) [1]เมื่อเราคิดเปลี่ยนบ้าน  อย่างพื้นฐานที่สุดที่คุณต้องทำคือการย้ายบ้าน หรือบางทีต้องพังบ้านและสร้างใหม่ขึ้นมา         แต่เมื่อคุณซ่อมแซมบ้าน คุณยังต้องเก็บเสาบ้าน ผนังและสภาพภายนอกทั่วไป แล้วสร้างสิ่งใหม่บนสิ่งที่มีอยู่เดิมแล้วเพื่อปรับสภาพบ้านให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของท่านด้วยกับกาลเวลาที่ผ่านไป         ในทำนองเดียวกัน มีผู้คนซึ่งเรียกร้อง “การฟื้นฟู” อิสลาม ในมิติของการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด หรือรื้อถอดโครงสร้างหรือตัวอาคาร  การฟื้นฟูประเภทดังกล่าวมิใช่สิ่งที่ข้าพเจ้าเรียกร้องในคำตอบครั้งนี้   การฟื้นฟูและโลกทัศน์         นักเขียนหลายท่านเขียนเกี่ยวกับ “การฟื้นฟู” และวางประเด็นจากแง่มุมที่หลากหลาย นี่เป็นหัวข้อที่กว้าง อย่างไรก็ตาม ในขอบข่ายที่อนุญาตให้มีการถกเถียง ข้าพเจ้าตั้งประเด็นนี้จากแง่มุมผ่านสิ่งที่เราเรียกว่า “โลกทัศน์”  โลกทัศน์ คือ ความเข้าใจที่มีต่อโลก (Sire, James W. Naming the Elephant. DOWNERS Grove, IL: Inter Varsity Press, 2004, p.19-20)         โลกทัศน์เป็นชุดของ “กรอบอ้างอิงสำหรับประสบการณ์ของมนุษย์” (O. B. Jenkins, What Is Worldview?, 1999, and ‘a system of belief.’ Richard DeWitt, Worldviews: An Introduction to the History and Philosophy of Science (Malden, MA: Blackwell, 2004, p.3.)         ดังนั้น โลกทัศน์ คือ ผลขององค์ประกอบจำนวนหนึ่งที่ก่อให้มนุษย์นั้น “รับรู้”ถึงโลก ต่อไปนี้ คือ ตัวอย่างของ “ทฤษฎี” ที่สร้างโลกทัศน์ให้กับมนุษย์ 1.   พระเจ้า, โลก, มนุษย์, ชีวิตหลังความตาย, ความรู้, จริยธรรม และประวัติศาสตร์  (Ninian Smart, Worldviews: Cross-cultural Explorations of Human Beliefs, 3rd ed., Prentice Hall, 1999, p.19-20) 2.   เทพนิยาย, คำสอน, จริยธรรม, พิธีกรรม และสังคม  (Smart, Worldviews) 3.   ความเชื่อ, มโนทัศน์, มโนธรรม, การสร้างสังคม, บทบาทและแบบอย่าง และการอบรมทางจริยธรรม (Jenkins, What Is Worldview?) 4.   โลกธรรมชาติ, จริยธรรม, การเมือง, ชีววิทยา, จิตวิทยา, วิธีการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และ ปัจจัยอื่นๆมากมาย (DeWitt, Worldviews) 5.   พระเจ้า, ตัวตน , ธรรมชาติ, จักรวาล และเวลา (Abdul-Fattah, Saif. ‘On Imam Mohamed Abdu’s Worldview’ Paper presented at the Centennial of Sheikh Mohamed Abdu, Bibliotheca Alexandrina, Alexandria, Egypt Dec., 2005, p. 7) ทฤษฎีข้างต้นทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงโลกทัศน์ที่ก่อเกิดจากทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเรา จากศาสนา, ประสบการณ์ส่วนตัว, สภาพภูมิศาสตร์, สภาพแวดล้อม, การเมือง, เศรษฐกิจและภาษา เมื่อใช้คำว่า “วัฒนธรรม” ในความหมายที่กว้าง  โลกทัศน์ได้เป็นตัวแทนของการรับรู้ทางวัฒนธรรม (Sire, Naming p. 28, Naugle, Worldview: The History of a Concept, p. 29) โดยที่การรับรู้ทางวัฒนธรรมเป็นโครงสร้างทางความคิดและความรู้สึกที่เป็นจริงผ่านความคิดของผู้คนและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก         ประเพณีกับนิติศาสตร์อิสลาม         โดยปกติแล้ว พื้นทางของประเพณี (อัล-อุรฟ) ในทางทฤษฎีของนิติศาสตร์อิสลามใช้รับมือกับการปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก  อิมามอบูหะนีฟะฮฺ  (699–767) หนึ่งในสี่นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของสำนักคิดนิติศาสตร์อิสลาม วางหลักการพื้นฐาน กล่าวว่า “เงื่อนไขที่เป็นนัยตามประเพณีนั้นคล้ายคลึงกับเงื่อนไขที่ชัดเจนตามตัวบท” (Al-Majala, Majallat Al-Ahkam Al-Adliyah (Journal of Justice Rulings) item 43, 45, see also: Ibn...

Read More